ดูแลอาการปวดของลูกรักวัยซุกซน ด้วยยาทาแก้ปวดเมื่อยสำหรับเด็ก
เสียงร้องไห้งอแงของลูกรักคงเป็นสิ่งที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่หนักใจมากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อไม่สามารถหาสาเหตุจากอาการได้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ยิ่งได้เห็นว่าลูกยังดูสนุกสนานเมื่อได้วิ่งเล่นในตอนกลางวัน แต่พอถึงช่วงกลางคืนทีไรกลับเริ่มร้องโอดโอยแสดงอาการปวดเมื่อยบริเวณกล้ามเนื้อน่องหรือต้นขาทั้งสองข้าง ทำให้ต้องเข้าไปช่วยบีบนวดดูแลควบคู่ไปกับการใช้ยาทาแก้ปวดเมื่อยสำหรับเด็ก ก็ยิ่งสร้างความกังวลใจให้มากขึ้นทุกครั้ง
อาการดังที่กล่าวมานี้ ถือเป็นเรื่องปกติสำหรับภาวะการเจริญเติบโตของลูกน้อย ที่อาจเกิดจากการที่กระดูกกำลังเติบโตจนทำให้กล้ามเนื้อตึงเป็นพิเศษ ประกอบกับเป็นช่วงวัยที่เด็กกำลังซุกซนจึงชอบวิ่งเล่นและทำกิจกรรมที่ต้องมีการขยับตัวค่อนข้างมาก จึงก่อให้เกิดการปวดกล้ามเนื้อได้ง่าย ซึ่งอาการปวดเมื่อยที่เป็นในตอนกลางดึกจะเกิดขึ้นประมาณ 30 นาทีและหายไปเมื่อตื่นเช้านั้น ถือได้ว่าเป็นอาการปกติที่ไม่น่าห่วงแต่อย่างใด แต่หากคุณพ่อคุณแม่ยังกังวลใจ ก็สามารถดูแลลูกน้อยในขั้นตอนเบื้องต้นได้ ดังนี้
การดูแลรักษาเบื้องต้น
นวดเบา ๆ ในบริเวณที่ปวด
บีบนวดเพื่อทำการผ่อนคลายกล้ามเนื้อพร้อมใช้ยาทาแก้ปวดเมื่อยในเด็กเพื่อลดอาการ โดยในระหว่างนวดอาจโอบกอดหรือพุดคุยไปด้วยเพื่อให้ลูกน้อยรู้สึกดีขึ้น
อาบน้ำอุ่นหรือประคบร้อน
ประคบไว้ก่อนนอนหรือเมื่อมีอาการและนำที่ประคบออกเมื่อหลับ เพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ
รับประทานยาแก้ปวด
แนะนำเป็นยาพาราเซตามอลหรือยาไอบูโพรเฟน และควรหลีกเลี่ยงยาแอสไพริน เพราะอาจทำให้เกิดอาการ Reye’s Syndrome ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อสมองและตับ ผู้ป่วยมักอาเจียนอย่างต่อเนื่อง มักพบได้ในเด็กที่มีความเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัสหรือการใช้ยาแอสไพรินรักษาการติดเชื้อไวรัส
ยืดกล้ามเนื้อ
ช่วยลูกน้อยทำกายบริหารยืดกล้ามเนื้อระหว่างวัน ทั้งก่อนและหลังออกไปเล่นสนุก เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยในช่วงกลางคืน โดยสามารถใช้ยาทาแก้ปวดเมื่อยสำหรับเด็กในการนวดยืดกล้ามเนื้อเพื่อช่วยผ่อนคลายก่อนเกิดอาการได้เช่นกัน
ดูแลอาการปวดด้วยยาหม่องชนิดขี้ผึ้งสำหรับเด็ก!
การใช้ยาหม่องชนิดขี้ผึ้งซึ่งเป็นยาทาแก้ปวดเมื่อยสำหรับเด็กมาทาในบริเวณที่ปวดเมื่อยเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการใช้ยาหม่องชนิดขี้ผึ้งซึ่งเป็นยาทาแก้ปวดเมื่อยที่ไม่มีฤทธิ์แสบร้อนเหมาะสำหรับผิวเด็ก ทำให้สามารถใช้นวดได้บ่อย ๆ เนื่องจากลูกน้อยอาจมีอาการเกิดขึ้นเป็นประจำ โดยมีส่วนผสมที่แนะนำ ดังนี้
น้ำมันยูคาลิปตัส
ยูคาลิปตัส เป็นหนึ่งในสมุนไพรที่มีสรรพคุณเป็นประโยชน์มากมาย ทั้งฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดอาการปวดบวม อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมเย็นเป็นเอกลักษณ์ที่ช่วยให้หายใจโล่ง รู้สึกปลอดโปร่งจึงช่วยบรรเทาความปวดจากทางกายและช่วยทางจิตใจให้สบายขึ้นได้ สำหรับการใช้น้ำมันยูคาลิปตัสนั้น ควรมีการเจือจางก่อนนำไปใช้เนื่องจากความเข้มข้นอาจทำให้เกิดพิษต่อร่างกายและก่อให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงได้ ดังนั้น จึงควรใช้ยาหม่องชนิดขี้ผึ้งซึ่งเป็นยาทาแก้ปวดเมื่อยสำหรับเด็กที่มีส่วนผสมของน้ำมันยูคาลิปตัสในปริมาณที่เหมาะสมในการใช้งานสำหรับทั้งเด็กและผู้ใหญ่
การบูร
การบูร มีสรรพคุณในการช่วดลดการปวดทั้งบริเวณข้อและเส้นประสาท อีกทั้งยังช่วยแก้เคล็ดบวม อาการขัดยอก แต่ไม่สามารถรับเข้าสู่ร่างกายโดยตรงด้วยการกิน เนื่องจากเป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะกับเด็กที่อาจทำให้เกิดอาการรุนแรง จึงมักถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมหนึ่งในยาหม่องชนิดขี้ผึ้งซึ่งเป็นยาทาแก้ปวดเมื่อยสำหรับเด็ก เพราะการบูรสามารถดูดซึมทางผิวหนังได้ดี ทำให้เกิดความรู้สึกเย็นและมีฤทธิ์เป็นยาชา
น้ำมันไธม์
ไธม์ เป็นสมุนไพรที่ใช้ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ โดยน้ำมันไธม์สามารถออกฤทธิ์แก้ปวดเมื่อย ช่วยคลายการเกร็งของกล้ามเนื้อได้ แต่อาจออกฤทธิ์แรงจึงห้ามใช้กับเด็กหรือคุณแม่ที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ ดังนั้น หากต้องการใช้ไธม์บรรเทาอาการปวด จึงควรใช้กับยาหม่องชนิดขี้ผึ้งซึ่งเป็นยาทาแก้ปวดเมื่อยสำหรับเด็กโดยเฉพาะเท่านั้น
อาการร่วมที่ต้องระวัง
ถึงแม้ว่าอาการปวดเมื่อยยามดึกจะสามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติกับเด็กในวัยซนที่ชอบเล่นสนุกในตอนกลางวัน แต่ยังมีบางโรคที่มีอาการคล้ายคลึงกัน ดังนั้น หากใช้วิธีดูแลเบื้องต้นพร้อมยาหม่องชนิดขี้ผึ้งที่เป็นยาทาแก้ปวดเมื่อยของเด็กแล้วแต่ลูกน้อยยังคงมีอาการปวดมาก คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าสังเกตุอาการร่วมที่ต้องระวังเป็นพิเศษ ดังนี้
- ปวดจนนอนไม่หลับ ต้องตื่นกลางดึกเป็นเวลาหลายคืน
- มีไข้ร่วมด้วย
- ปวดบวมแดงร้อน โดยเฉพาะบริเวณข้อ
- มีก้อนนูนบวมในบริเวณตำแหน่งที่ปวด
- จับแล้วปวดมากขึ้น มีอาการบวมแดง
- น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ไม่สามารถเดินได้ วิ่งแล้วปวด
- ลูกเจริญเติบโตไม่สมวัย อาจเป็นอาการจากการขาดสารอาหารบางชนิด
- มีอาการปวดเมื่อยไปถึงกระดูก ไม่ใช่แค่เพียงกล้ามเนื้อ โดยไม่สามารถใช้ยาหม่องชนิดขี้ผึ้งซึ่งเป็นยาทาแก้ปวดเมื่อยสำหรับเด็กมาบรรเทาอาการได้
อาการที่กล่าวมานี้สามารถบ่งบอกได้ถึงโรคอันตราย เช่น มะเร็งกระดูก โรคข้ออักเสบในเด็ก รวมถึงการติดเชื้อที่กล้ามเนื้อ ดังนั้น เมื่อพบอาการเหล่านี้ ควรรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาทันทีต่อไป
ข้อมูลอ้างอิง
- ปวดกระดูกยืด (Growing pain) หรือ ปวดขากลางคืนในเด็ก (Benign nocturnal limb pains of childhood). สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2565 จาก https://haamor.com/ปวดกระดูกยืด
- #GrowingPain #เพราะโตจึงเจ็บปวด จากเพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2565 จาก https://www.facebook.com/SpoiledPediatrician/posts/1585746871522291/
- ลูกปวดขา..เพราะกระดูกยืด.. จริงหรือ??? โรงพยาบาลเด็ก โดย นพ.วีระศักดิ์ ธรรมคุณานนท์. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2565 จาก https://www.youtube.com/watch?v=R17bGCj8z_M
- ยูคาลิปตัส พรรณไม้บำบัดโรค. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2565 จาก https://www.pobpad.com/ยูคาลิปตัส-พรรณไม้บำบัด
- การบูร. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2565 จาก https://www.pobpad.com/ประโยชน์ของการบูร-ตัวยา
- ไธม์. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2565 จาก https://hellokhunmor.com/สมุนไพรและการแพทย์ทางเลือก/ไทม์-thyme/
- ความหมาย กลุ่มอาการราย (REYE’S SYNDROME). สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2565 จาก https://www.pobpad.com/reyes-syndrome-กลุ่มอาการราย